• สรุป ข้อมูลการรับสมัคร ป.ตรี (ภาคปกติ)
โปรดสละเวลาในการอ่านศึกษาข้อมูล สรุป ! ข้อมูลการรับสมัครนักศึกษาใหม่

หลักสูตรปริญญาตรี (ภาคปกติ)
ส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค
ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567

  • ทำความเข้าใจเรื่อง ส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค กันก่อน
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดการเรียนการสอน 2 ส่วน คือส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซึ่งผู้สนใจต้องเลือกสมัครให้ตรงตามความต้องการตั้งแต่แรก เปรียบเทียบความแตกต่างได้ ดังตารางต่อไปนี้
ส่วนกลางส่วนภูมิภาค
ที่ตั้ง: มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ มี 2 วิทยาเขต คือ หัวหมาก(วิทยาเขตหลัก) และบางนาที่ตั้ง: จัดตั้งศูนย์บริการนักศึกษาในจังหวัดต่างๆเรียกว่า “สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด…” มีทั้งสิ้น 23 แห่ง
มีที่ไหนบ้างคลิก
สาขาวิชาที่รับสมัคร: 9 คณะ มากกว่า 60 สาขาวิชาสาขาวิชาที่รับสมัคร: 4 คณะ 4 สาขาวิชา
ค่าหน่วยกิต: 25 บาท/หน่วยกิตค่าหน่วยกิต: 50 บาท/หน่วยกิต
สถานที่เรียน: บรรยายสดที่ห้องเรียน รามฯ1 และ รามฯ2 และวิดีโอออนไลน์กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปสถานที่เรียน: เทปบรรยายที่ห้องเรียนสาขาวิทยบริการฯ และวิดีโอออนไลน์ทุกวิชา
สถานที่สอบ: สอบที่กรุงเทพฯ ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ1) และ บางนา(รามฯ2) เท่านั้นสถานที่สอบ: สอบที่สาขาวิทยบริการฯ และศูนย์สอบ จำนวน 40+ แห่งทั่วประเทศ เลือกสอบที่ไหนก็ได้(ยกเว้นกรุงเทพฯ)
มีที่ไหนบ้างคลิก
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ… ตอบแบบสอบถามเพื่อรับคำแนะนำ 🙂 คลิกที่นี่

  • ประเภทที่รับสมัคร
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เป็นต้นไป เข้าศึกษาต่อโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก และรับไม่จำกัดจำนวน แบ่งประเภทได้ดังนี้
  • แบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต
    รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี หมายความว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ม.6 สายสามัญ, กศน.ม.6, ปวช. สามารถสมัครเรียนได้
  • แบบเทียบโอนหน่วยกิต แบ่งย่อยได้ดังนี้
    (1) จบการศึกษาจากสถาบันอื่น
    (2) โอนย้ายสถาบันการศึกษา
    (3) หมดสถานภาพ นศ. จาก ม.รามคำแหง
    (4) เทียบโอนหน่วยกิต 2 สถาบัน
    (5) ปริญญาใบที่สองจาก ม.รามคำแหง
    (6) เทียบโอนหน่วยกิตจาก พรีดีกรี
    *อ่านคำอธิบายแต่ละอย่างหมายถึงอะไร เทียบโอนได้กี่หน่วยกิต ดูรายละเอียด คลิกที่นี่

  • ช่องทางและวันที่รับสมัคร
ผู้สนใจสมัครเรียนหลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถเลือกสมัครเป็นนักศึกษาช่องทางใดก็ได้ ดังนี้
  • สมัครด้วยตนเอง – 👌😎
    แนะนำสมัครด้วยตนเอง สะดวก! เร็วที่สุด!
    16-19 พฤษภาคม 2567 และ
    27-30 มิถุนายน 2567

    *สมัครแบบ FAST! จบในจุดเดียว รับใบเสร็จ เป็นนักศึกษารามฯทันที
    ส่วนกลาง: ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก (รามฯ1) กรุงเทพฯ (ไม่เปิดจุดรับสมัครที่รามฯ2)
    ส่วนภูมิภาค: ณ จุดรับสมัคร ภายในสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ม.รามคำแหง 23 แห่งทั่วประเทศ (23แห่ง มีที่ไหนบ้างคลิก)
  • สมัครผ่านระบบออนไลน์
    1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2567
    ขั้นตอนการสมัครออนไลน์: คลิก
  • สมัครผ่านไปรษณีย์
    1 เมษายน – 21 มิถุนายน 2567
    รายละเอียด: วิธีการสมัครผ่านไปรษณีย์คลิก
*ผู้สมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิตต้องสมัครด้วยตนเอง หรือ ทางระบบออนไลน์เท่านั้น

  • การคัดเลือกเข้าศึกษา
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) รับสมัครนักศึกษาแบบไม่จำกัดจำนวน ไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าศึกษา ไม่ต้องยื่นคะแนนสอบวิชาเฉพาะใดๆ ขอเพียงมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในระเบียบการรับสมัครอย่างครบถ้วนก็สมัครเรียนได้

  • ใบสมัคร และระเบียบการรับสมัคร
ใบสมัคร
การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายใบสมัคร ผู้สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยรับใบสมัครได้ที่จุดรับสมัคร, ผู้สมัครผ่านระบบออนไลน์ กรอกใบสมัครในระบบ
ระเบียบการรับสมัครฯ การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายระเบียบการรับสมัคร โดยผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดระเบียบการรับสมัครฯ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบด้วย คุณสมบัติผู้สมัคร, หลักฐานการสมัคร, อัตราค่าใช้จ่าย, สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร, เกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิต และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ กดลิงก์ต่อไปนี้เพื่อดาวน์โหลด

  • สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนกลาง เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 9 คณะ มากกว่า 60 สาขาวิชา ดังนี้
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะสื่อสารมวลชน
  • คณะมนุษยษศาสตร์
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 4 คณะ 4 สาขาวิชา ดังนี้
  • คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
  • คณะรัฐศาสตร์ กลุ่มวิชาการบริหารรัฐกิจ
  • คณะสื่อสารมวลชน สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล
หมายเหตุ
– ตรวจสอบรายชื่อสาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร ปี 2566 คลิกที่นี่

  • ค่าใช้จ่ายการสมัคร
การสมัครเป็นนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี (ภาคปกติ) สามารถแบ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน และ 2. ค่าเทียบโอนหน่วยกิต
  • ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนต้องชำระทันทีในวันสมัคร
    ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ประกอบด้วย ค่าขึ้นทะเบียนเข้าเป็นนักศึกษา, ค่าธรรมเนียมแรกเข้าศึกษา, ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย, ค่าบริการสารสนเทศ, ค่าหน่วยกิต
    ส่วนกลาง ไม่เกิน 3,750 บาท
    ส่วนภูมิภาค ไม่เกิน 3,980 บาท
  • ค่าเทียบโอนหน่วยกิต(ถ้ามี)ชำระได้ภายหลัง
    **หากสมัครแบบไม่เทียบโอนหน่วยกิตจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้**
    ค่าเทียบโอนหน่วยกิต คิดตามประเภทผู้สมัคร ดูรายละเอียดคลิก โดยมหาวิทยาลัย จะเรียกเก็บค่าเปิดฐานข้อมูลการเทียบโอนหน่วยกิต เป็นเงิน 100 บาทในวันที่สมัครก่อน โดยผู้สมัครไม่จำเป็นต้องชำระค่าเทียบโอนในวันสมัครก็ได้ ผู้สมัครสามารถชำระค่าเทียบโอนหน่วยกิตทั้งหมดได้โดยไม่มีค่าปรับภายใน 1 ปี นับจากวันที่สมัคร หากพ้นระยะเวลา 1 ปี จะมีค่าปรับกรณีชำระค่าเทียบโอนหน่วยกิตล่าช้า ภาคการศึกษาละ 300 บาท (ปีละ 600 บาท) โดยค่าเทียบโอนหน่วยกิตต้องชำระค่าเทียบโอนทั้งหมดภายในครั้งเดียว ไม่สามารถแบ่งชำระได้ 

  • เรียนอย่างไร ?
รูปแบบการเรียนระดับ ปริญญาตรี (ภาคปกติ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน นักศึกษาสามารถเลือกวิธีการหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมหาวิทยาลัยจะจัดรูปแบบการศึกษาแบบ Hybrid คือ อาจารย์จัดบรรยายในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยเป็นหลัก บรรยายเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.20-17.20 น. และมีการบรรยายสรุปเสาร์-อาทิตย์เฉพาะนักศึกษาส่วนภูมิภาค สรุปรูปแบบการเรียนได้ดังนี้
  • ฟังบรรยายที่ห้องเรียน
    มหาวิทยาลัยมีห้องบรรยายทุกระบวนวิชา นักศึกษาสามารถเดินทางมาที่มหาวิทยาลัย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเข้าฟังบรรยายได้
  • หนังสือ/ตำราเรียน ซื้อเอง-อ่านเอง
    ตำรา/หนังสือเรียน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    – สั่งซื้อออนไลน์ที่ RU-Press Bookstore
    – ซื้อด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์หนังสือ ม.รามคำแหง อาคารสำนักพิมพ์ ชั้น 3 ดูวันเปิดจำหน่าย คลิกที่นี่
  • ถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลัง ผ่านระบบออนไลน์
    – Cyber Cloassroom ถ่ายทอดสดจากห้องเรียน*
    – Course on-demand วิดีโอการบรรยายย้อนหลัง
    *
    *ส่วนภูมิภาค ดูสดและย้อนหลังได้ทุกวิชา / ส่วนกลาง ดูสดและย้อนหลังได้เฉพาะกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปเท่านั้น
หมายเหตุ:
(1) เมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้น สื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอบรรยายสรุปการสอนจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ
(2) นักศึกษาที่สมัครเรียนสาขาวิชาที่ต้องเรียนรู้ด้านทักษะวิชาชีพและปฏิบัติการ เช่น คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ(บางสาขา) สื่อสารมวลชน แนะนำให้เข้าเรียนหรือพบอาจารย์ประจำวิชา จะทำให้มีโอกาสสอบผ่านมากขึ้น

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนถึงวันสมัคร

เข้าสู่เว็บไซต์รับสมัคร
  • คำถามที่พบบ่อย ? (FAQ)

รายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด คลิกที่นี่

หมายเหตุ

  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ที่ปรากฎข้างต้นเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดแปรผลตามหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนเรียนวิชาน้อยค่าใช้จ่ายจะน้อยลงด้วย โดยค่าใช้จ่ายนี้ประกอบด้วย (1)ค่าบำรุงการศึกษา, (2)ค่าธรรมแรกเข้าเป็นนักศึกษา, (3)ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, (4)ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา, (5)ค่าบริการสารสนเทศ, (6)ค่าหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน, (7)ค่าธรรมเนียมการสอบ(เฉพาะผู้สมัครส่วนภูมิภาค)
  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ไม่รวม ค่าหนังสือ ชุดนักศึกษา ประกันภัย ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาจะซื้อเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้
ใช่ เมื่อผู้สมัครทำการสมัครครบทุกขึ้นตอนแล้ว ก็จะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษา ม.รามคำแหง เลย สามารถรอเปิดเทอมและเข้าเรียน(ถ้าต้องการ)ได้เลย

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 5-7 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. ชำระเงินค่าสมัครและค่าลงทะเบียนเรียน
4. อัพโหลดหลักฐานส่วนตัว, หลักฐานการศึกษา, หลักฐานการชำระเงินเข้าสู่ระบบ
5. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย (เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายใน 5-7 วันทำการ)

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบเทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 7-14 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. อัพโหลดหลักฐานการศึกษาเข้าสู่ระบบ ให้จนท.ตรวจสอบวิชาการเทียบโอน
4. จนท.อนุมัติวิชาการลงทะเบียนเรียน
5. ชำระเงิน
6. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัยครั้งสุดท้าย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย

ขั้นตอนการสมัคร แบบเทียบโอน/ไม่เทียบโอน ที่มหาวิทยาลัย (เสร็จสิ้นภายในวันเดียว)
1. กรอกข้อมูลการสมัคร
2. ตรวจสอบหลักฐานการสมัคร
4. ออกรหัสประจำตัวนักศึกษา
5. ลงทะเบียนเรียน/เลือกวิชาเทียบโอนหน่วยกิต
6. ชำระเงิน มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาทันที ใช้เวลาการสมัครทุกกระบวนการประมาณ 1 ชม. เสร็จสิ้นภายในวันที่สมัคร

การสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ไม่ต้องสอบคัดเลือก เมื่อดำเนินการสมัครเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว ผู้สมัครจะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กรณีต้องการเข้าฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัย
    ส่วนกลาง
    ห้องบรรยายของนักศึกษาส่วนกลาง มีทั้งที่ ม.รามคำแหง หัวหมาก และ ม.รามคำแหง บางนา นักศึกษาสามารถเดินทางมาฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัยได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และไม่จำเป็นต้องแสดงตนก่อนเข้าห้องเรียน โดยเวลาบรรยายของแต่ละวิชานั้นระบุอยู่ใน “ตาราง ม.ร.30” ประจำภาคเรียนนั้นๆ หากไม่ทราบว่าแต่ละวิชาเรียนวัน/เวลาอะไร เราขอแนะนำให้อ่านบทความ วิธีทำตารางเรียนสำหรับนักศึกษาใหม่
    ส่วนภูมิภาค
    นักศึกษาส่วนภูมิภาค สามารถเข้าฟังบรรยายผ่านระบบโทรทัศน์ที่เปิดตามตารางบรรยายได้ที่สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติใกล้บ้านได้
  • กรณีใช้สื่อการเรียนด้วยตนเอง
    มหาวิทยาลัยมีสื่อการเรียนให้นักศึกษาเลือกใช้ ดังนี้
    Cyber Classroom ถ่ายทอดสดจากห้องเรียน(ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
    Course on-demand วิดีโอการบรรยายย้อนหลัง(ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
    – หนังสือตำราเรียน จากสำนักพิมพ์ ม.รามคำแหง ซื้อมาศึกษาด้วยตนเอง(จัดซื้อเพิ่มเติมด้วยตนเอง)
วันเปิดเทอม(เริ่มบรรยาย) ภาคเรียนที่ 1/2567
ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ)และพรีดีกรี
ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
คือ
เมื่อถึงเวลาสอบไล่ปลายภาคเรียน นักศึกษาจะต้องเข้าสอบวัดผลทางการเรียน 1 ครั้ง โดยมีการกำหนดวันสอบไล่แจ้งให้ทราบจากปฏิทินการศึกษา

นักศึกษาส่วนกลาง มหาวิทยาลัยจะเลือกสถานที่สอบในแต่ละวิชาให้นักศึกษาเอง โดยมีโอกาสเข้าสอบได้ทั้ง 2 แห่ง คือ
(1) ม.รามคำแหง หัวหมาก (รามฯ 1)
(2) ม.รามคำแหง บางนา (รามฯ 2)
นักศึกษาส่วนภูมิภาค เลือกสนามสอบเองได้ตามต้องการ(ยกเว้นกรุงเทพฯ)
(0) ดูรายชื่อสนามสอบได้ที่นี่ คลิก

เพราะ “ปฏิทินการศึกษา” นั้นบอกวันสำคัญต่างๆเกี่ยวกับการเรียน เช่น วันเริ่มบรรยาย(เปิดเทอม) วันลงทะเบียนเรียน วันลงทะเบียนสอบซ่อม วันสอบซ่อม วันบอกเลิก-เพิ่มกระบวนวิชา วันสอบไล่ วันลงทะเบียน/สอบอีเทสติ้ง และวันสำคัญอื่นๆ
(นักศึกษา ป.ตรี (ภาคปกติ) และพรีดีกรี จะใช้ปฏิทินการศึกษาเดียวกัน) ขอให้นักศึกษาสละเวลาเข้าดูก่อนน้า

🗓 ดูได้ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
หรือเข้าผ่านรอบรั้วรามฯ https://www.aroundram.com/yearplan/
หรือเว็บไซต์ สวป. ส่วนกลาง / ส่วนภูมิภาค
และบันทึกเก็บเอาไว้วางแผนการเรียนตลอดทั้งเทอมนะครับ

นักศึกษาส่วนกลาง (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา นศ.ภาคปกติ 800 บาท / พรีดีกรี 500 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต ภาคปกติ หน่วยละ 25 บาท / พรีดีกรี หน่วยละ 50 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,125 – 1,450 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,050-1,700 บาท สำหรับพรีดีกรี

นักศึกษาส่วนภูมิภาค (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา 600 บาท / พรีดีกรี 300 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 50 บาท ทั้งภาคปกติและพรีดีกรี
(4) ค่าธรรมการสอบ วิชาละ 60 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,330-2,700 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,030-2,320 บาท สำหรับพรีดีกรี

ระยะเวลาของหลักสูตร ท่านสามารถตรวจสอบระยะเวลาของหลักสูตรได้จาก “ระเบียบการรับสมัครฯ” จะมีการระบุข้อความว่า “Total for ….. years” (ดังตัวอย่างภาพด้านบนนี้) ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนในทุกคณะ/สาขาวิชา หมายความ ว่าท่านสามารถจบการศึกษาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากมีการสอบสะสมหน่วยกิตได้ตามแผนการเรียนที่แนะนำเอาไว้ จริงๆแล้ว ต้องเรียนกี่ปี ? จริงๆแล้วนักศึกษาสามารถใช้เวลาเรียนให้จบการศึกษาเร็วกว่าหรือช้ากว่าที่กำหนดก็ได้ โดยนักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องได้ถึง 8 ปีการศึกษา(สำหรับหลักสูตร 4 ปี) หรือลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องได้สูงสุด 10 ปีการศึกษา(สำหรับหลักสูตร 5 ปี) คำว่า “อย่างต่อเนื่อง” หมายถึงมีการลงทะเบียนเรียนติดต่อกันเพื่อคงสถานภาพการเป็นนักศึกษาไว้ ไม่ให้ขาดสถานภาพจนกว่าจะเรียนจบจริงๆ จบเร็วที่สุดกี่ปี ? กรณีตัวอย่าง หลักสูตรของสาขาวิชานิติศาสตร์ กำหนดให้ต้องสอบสะสม 140 หน่วยกิต สามารถสอบสะสมได้เร็วที่สุดภายใน 2 ปีครึ่ง – 3ปี เพราะมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดให้ลงทะเบียนเรียนและสอบสะสมหน่วยกิตได้สูงสุด ปีการศึกษาละ 51 หน่วยกิต (3 ปี = 51+51+ที่เหลือ = 140 หน่วยกิต) โดยสามารถแจกแจงจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียนต่อ 1 ปีการศึกษา ดังนี้
1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 3 ภาคเรียน คือ
  • ภาคเรียนที่ 1 สะสมได้สูงสุด 21 หน่วยกิต
  • ภาคเรียนที่ 2 สะสมได้สูงสุด 21 หน่วยกิต
  • ภาคฤดูร้อน สะสมได้สูงสุด 9 หน่วยกิต
    รวม 21+21+9 = 51 หน่วยกิต/ปีการศึกษา
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ …..เพราะการสอบเพื่อสะสมได้สูงสุดเต็มจำนวนในทุก ๆ ภาคเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ตั้งแต่การวางแผนการลงทะเบียนและเลือกวิชาที่ดีมีความเหมาะสม(นักศึกษารามคำแหง ต้องเลือกวิชาเรียนด้วยตนเองทุกภาคเรียน), การวางแผนการสอบก็สำคัญมาก, วันสอบของวิชานั้น ๆ อาจเป็นวันที่เราไม่สะดวกจนไม่ได้ไปสอบ, เราอาจสอบตก, หรือแม้แต่ลืมลงทะเบียนสอบซ่อม และเหตุผลร้อยแปด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ระยะเวลาการเรียนเพิ่มขึ้น หรือบางคนท้อใจจนหยุดเรียนไป นี่จึงอาจเป็นเหตุผลทของวลีที่ว่า “เรียนรามฯ เข้าง่าย ออกยาก”

…แต่ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ เราคิดว่าคุณทำได้แน่นอน น้อยคนนักที่จะอ่านมาถึงตรงนี้ เราเชื่อว่าคุณมีศักยภาพด้านการอ่าน การวางแผน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เราขออวยพรให้คุณประสบความสำเร็จทางการเรียน และจบได้เร็วเท่าที่ตั้งใจไว้…

สมัครเสร็จแล้ว ตารางเรียนทำยังไง ?

ส่วนกลาง
หลักจากที่ทำการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาใหม่ทุกท่านสามารถจัดทำ “ตารางเรียน” ส่วนบุคคลเอาไว้ใช้ประกอบหากต้องการมาเรียนที่มหาวิทยาลัย และตารางเรียนที่จะแนะนำวิธีการทำนี้ จะมีรายละเอียดการสอบ/วันสอบไล่ปลายภาคของเราอยู่ด้วย >> อ่านวิธีการทำตารางเรียนของตัวเองได้ที่นี่ >> คลิก <<

ส่วนภูมิภาค
ดาวน์โหลดตารางการบรรยายได้ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัย หรือที่ระเบียบการรับสมัคร ส่วนภูมิภาค 2566 พลิกหาข้อมูลตารางบรรยายได้เลย

ค่าใช้จ่ายที่ชำระในการสมัคร ไม่รวมค่าหนังสือ/ตำราเรียน ดังนั้นหากนักศึกษาต้องการ จะต้องดำเนินการจัดซื้อด้วยตนเอง

ราคาหนังสือ

ตรวจสอบราคาหนังสือ/ตำราเรียนของมหาวิสามารถตรวจสอบราคาหนังสือแต่ละเล่มได้ที่เว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ ม.ร. http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/ และทำการค้นหาชื่อหนังสือตามรหัสวิชาตามที่ต้องการ

ช่องทางการสั่งซื้อหนังสือ
  • สั่งออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/ 
    (ใช้เวลาการจัดส่งประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น)
  • ซื้อด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาคารสำนักพิมพ์ ชั้น 3 ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ 1)
    เปิดบริการในวัน จันทร์-ศุกร์ 9.00-15.30 น. และบางเสาร์-อาทิตย์ 9.00-15.00 น.
    ดูวันเปิดจำหน่ายของศูนย์หนังสือ คลิก
คลิกที่นี่เพื่อดูภาพใหญ่
  • เสื้อ/กระโปรง/กางเกง สามารถเลือกซื้อสถานที่ใดก็ได้ตามความสะดวก
  • ตุ้งติ้ง/เข็มกลัดพ่อขุน/เข็มขัดตรามหาวิทยาลัย มีจำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และช่องทางออนไลน์ของสำนักพิมพ์ หรือเลือกซื้อที่ใดก็ได้ตามความสะดวก
  • คำแนะนำของรอบรั้วรามฯ : นักศึกษาสามารถปรับการแต่งกายตามสไตล์ของตัวเองได้ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานความเรียบร้อยเหมาะสมกับเวลาและสถานที่น้าาา 

ประชาสัมพันธ์
  • อบรมภาษาต่างประเทศ
    โดยสถาบันภาษา หลายหลักสูตร
    ภาษาอังกฤษ, จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น
    สำหรับบุคคลทั่วไป และนักศึกษารามคำแหงราคาพิเศษ
    รายละเอียด facebook.com/rilram