สรุปข้อมูลการรับสมัคร หลักสูตรสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงล่วงหน้า pre-Degree
ประจำภาคเรียนที่ 1/2568 ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

และ 25-28 มิ.ย. 2568
ส่วนกลาง 11748_568774-e7> | ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ม.รามคำแหง หัวหมาก กรุงเทพ (รามฯ1) ใกล้กับสนามราชมังคลากีฬาสถาน 11748_8b0484-18> |
ส่วนภูมิภาค 11748_4a8fc5-9c> | ณ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ 23 แห่งทั่วประเทศ 11748_31bf78-6f> |
*สวมชุดสุภาพมาสมัคร
*เตรียมเอกสารอะไรมาสมัครบ้าง เลื่อนดูที่ “คำถามที่พบบ่อย” ด้านล่าง

11748_489fe8-0d> |
กรอกข้อมูลสมัครในระบบ > อัพโหลดเอกสาร > ชำระเงินออนไลน์ทั้งหมด 11748_65096a-fd> |

ดาวน์โหลดใบสมัคร > กรอกใบสมัคร > คำนวณค่าสมัคร > ชำระเงินทางธนาณัติ > ส่งใบสมัครและหลักฐานทั้งหมดถึงมหาวิทยาลัยทางไปรษณีย์ 11748_63871e-00> |
*เหมาะสำหรับผู้ที่อยากได้ประสบการณ์สมัครทางไปรษณีย์ แต่ก็ยังต้องเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เพราะต้องดาวน์โหลดใบสมัครให้ได้เสียก่อน
*หากสามารถเดินทางได้หรือใช้อินเทอร์เน็ตได้ แนะนำให้เลือกสมัครวิธีอื่น
*ขั้นตอนการสมัคร : ผู้สมัครต้องดาวน์โหลดใบสมัคร และปริ้นท์ออกมา กรอกข้อมูลลงในใบสมัคร และส่งถึงมหาวิทยาลัยพร้อมกับหลักฐานการสมัคร, หลักฐานการชำระเงินธนาณัต มาทางไปรษณีย์ถึงมหาวิทยาลัย
พรีดีกรี เป็นระบบการเรียนเพื่อสอบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแบบล่วงหน้า เปิดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วและกำลังเรียนอยู่ ม.ปลาย ให้สามารถสมัครเรียนได้ (คนที่จบ ม.ต้น แล้ว = DEK 69-70-71 ที่กำลังเรียน ม.ปลาย อยู่นั่นเอง)
หากวางแผนไว้ว่าอยากเรียนปริญญาตรีด้านกฎหมาย(นิติศาสตร์) ก็สอบสะสมหน่วยกิตในวิชากฎหมายไปเรื่อยๆในระหว่างเรียนควบคู่กับที่โรงเรียนไปด้วย แล้วพอจบ ม.6 ก็มาเปลี่ยนระบบมาเป็นนักศึกษาปริญญาตรีเต็มตัว ถ้าสะสมในตอนแรกได้เยอะ ก็เรียนปริญญาตรีที่ตามหลักสูตรที่เหลือ ถ้าเรียนครบก็จบรอรับปริญญาได้เลย
คอนเซ็ปของมันก็เหมือน การออมเงิน ถ้าออมเงินตั้งแต่วันนี้ แป้บเดียวก็สะสมได้ถึงเป้าหมาย เพียงแค่การสะสมที่ว่านี้เรียกว่า “สะสมหน่วยกิต” นั่นเอง
นักศึกษาพรีดีกรีมักอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจบทเรียนด้วยเอง ไม่จำเป็นต้องเข้าฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัย และยังมีสิทธิ์เข้าสอบไล่ปลายภาคที่มหาวิทยาลัยตามปกติ
“…ปีแรกๆชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะเปลี่ยนใจชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…”
การเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดโอหาสให้ทุกคนได้มีเวลาค้นหาตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องการเรียน และนักศึกษาพรีดีกรีเป็น “นักศึกษาพรีดีกรี” ไม่ใช่นักศึกษาของคณะใดคณะหนึ่ง แต่ตอนสมัครเรียนเขาจะให้เราเลือกคณะไปแล้วนี่นา? ใช่แล้ว การที่มหาวิทยาลัยให้เราเลือกคณะตั้งแต่ตอนที่สมัคร ก็เพราะมหาวิทยาลัยจะได้เลือกวิชาในคณะที่เราสนใจมาให้เราเรียนและสอบในภาคเรียนนี้ มันเป็นการอำนวยความสะดวกให้ตอนสมัครครั้งแรกเท่านั้นแต่ถ้าเรียนไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาล่ะ ? ก็อย่างที่บอกว่า “พรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ” ถ้าเรียนอยู่ดี ๆ เราไม่ชอบรัฐศาสตร์แล้ว แต่หันไปชอบสื่อสารมวลชนแทน เราก็เปลี่ยนไปหยิบวิชาของคณะสื่อสารมวลชนมาสอบสะสมต่อได้เลย ไม่ต้องแจ้งใคร ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัย แค่นี้เอง “…ปีแรกๆชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะเปลี่ยนใจชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…”

หากวางแผนไว้ว่าอยากเรียนปริญญาตรีด้านกฎหมาย(นิติศาสตร์) ก็สอบสะสมหน่วยกิตในวิชากฎหมายไปเรื่อยๆในระหว่างเรียนควบคู่กับที่โรงเรียนไปด้วย แล้วพอจบ ม.6 ก็มาเปลี่ยนระบบมาเป็นนักศึกษาปริญญาตรีเต็มตัว ถ้าสะสมในตอนแรกได้เยอะ ก็เรียนปริญญาตรีที่ตามหลักสูตรที่เหลือ ถ้าเรียนครบก็จบรอรับปริญญาได้เลย
คอนเซ็ปของมันก็เหมือน การออมเงิน ถ้าออมเงินตั้งแต่วันนี้ แป้บเดียวก็สะสมได้ถึงเป้าหมาย เพียงแค่การสะสมที่ว่านี้เรียกว่า “สะสมหน่วยกิต” นั่นเอง
เมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาพรีดีกรีแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้น สื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอบรรยายสรุปการสอนจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ
ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,100 บาท
ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,080 บาท
(รายละเอียดแบบแจกแจงค่าใช้จ่าย: คลิก)
2. ค่าลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนต่อ ๆ ไป
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนเทอมต่อๆไป ประกอบด้วย ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 50 บาท, ค่าบำรุงการศึกษา, ค่าบริการสารสนเทศ, ค่าธรรมเนียมการสอบ(เฉพาะส่วนภูมิภาค) รวมแล้วประมาณค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
ส่วนกลาง : สูงสุดไม่เกิน 1,700 บาท
ส่วนภูมิภาค : สูงสุดไม่เกิน 2,200 บาท
*อัตราค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนหน่วยกิตในภาคเรียนนั้นๆมาก ค่าใช้จ่ายจะมากตามไปด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ลงทะเบียนเรียน อย่างน้อย 9 หน่วยกิต/ภาคเรียน เท่านั้น แต่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้สูงสุดถึง 21 หน่วยกิต
1. ค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและลงทะเบียนเรียนภาคเรียนแรก(ต้องชำระในวันสมัครทันที)
ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,750 บาท
ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,730 บาท
2. ค่าเทียบโอนหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรีเข้าสู่ระบบปริญญาตรี(ชำระภายหลังได้)
คิดอัตราค่าเทียบโอนหน่วยกิตละ 50 บาท เช่น หากสะสมระหว่างเรียนพรีดีกรีได้ 60 หน่วยกิต จะเป็นเงินค่าเทียบโอน 60×50= 3,000 บาท
การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ไม่มีการจำหน่ายใบสมัคร ผู้สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยรับใบสมัครได้ที่จุดรับสมัคร, ผู้สมัครผ่านระบบออนไลน์ ใบสมัครจะอยู่ในระบบแล้ว, ผู้สมัครผ่านทางไปรษณีย์ต้องดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซต์ก่อน
ระหว่าง ส่วนกลาง / ส่วนภูมิภาค
ม.รามคำแหง กรุงเทพฯ มี 2 วิทยาเขต คือ – หัวหมาก (วิทยาเขตหลัก) และวิทยาเขตบางนา | ที่ตั้ง | จัดตั้งศูนย์บริการนักศึกษาในจังหวัดต่างๆเรียกว่า “ม.รามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด…” มีทั้งสิ้น 23 แห่ง มีที่ไหนบ้างคลิก |
9 คณะ | สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร | 4 คณะ 4 สาขาวิชา |
50 บาท/หน่วยกิต | ค่าหน่วยกิต | 50 บาท/หน่วยกิต |
บรรยายสดที่ห้องเรียน รามฯ1 และ รามฯ2 และวิดีโอออนไลน์กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป | การเรียน | วิดีโอบรรยายที่ห้องเรียนสาขาวิทยบริการฯ และวิดีโอออนไลน์/และย้อนหลัง ทุกวิชา |
สอบไล่ที่กรุงเทพฯ ที่ ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ1) และ บางนา(รามฯ2) เท่านั้น | สถานที่สอบไล่ | สอบที่สาขาวิทยบริการฯ และศูนย์สอบ จำนวน 40+ แห่งทั่วประเทศ นักศึกษาเป็นผู้เลือกศูนย์สอบเอง เลือกสอบที่ไหนก็ได้(ยกเว้นกรุงเทพฯ) มีที่ไหนบ้างคลิก |
ป.ตรี(ภาคปกติ) ไม่เกิน 3,750 บาท พรีดีกรี ไม่เกิน 3,100 บาท | สถานที่สอบไล่ | ป.ตรี(ภาคปกติ) ไม่เกิน 3,980 บาท พรีดีกรี ไม่เกิน 3,280 บาท |
บสมัครปีละ 2 ครั้ง คือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของทุกปี | รอบการเปิดรับสมัคร | รับสมัครปีละ 1 ครั้ง คือ เฉพาะภาคเรียนที่ 1 ของทุกปี |
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ… ตอบแบบสอบถามเพื่อรับคำแนะนำ 🙂 คลิกที่นี่
‘พรีดีกรี’ ทางด่วนไปสู่ความสำเร็จ
อดีตนักศึกษาระบบพรีดีกรี ที่สมัครเรียนและสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า
และจบปริญญาตรีตั้งแต่อายุยังน้อย

สิรพิชญ์ สินมา (พิงค์)
สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรี และเทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติ และจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ เมื่ออายุอายุ 18 ปี, เนติบัณฑิตยสภา เมื่ออายุ 19 ปี, จบปริญญาโท 2 ใบ จาก University of San Diego และ California Western School of Law สหรัฐอเมริกา เมื่ออายุ 21 ปี, ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา

ประวีณ์ธิดา จารุนิล
เรียนพรีดีกรีตั้งแต่ ม.4 สะสมหน่วยกิตได้ 128 หน่วยกิต เทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติและเรียนต่ออีก 1 เทอมก็จบปริญญาตรีเมื่ออายุ 18 ปี และเรียนต่อปริญญาโทสาขากฎหมายมหาชน ม.รามคำแหง และจบการศึกษาเมื่ออายุ 21 ปี

พันจ่าอากาศโท
ดร.สุวินท์ รักสลาม
เรียนพรีดีกรีในระหว่างเรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติ และจบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี, ต่อปริญญาโท(บริหารรัฐกิจ) ม.รามคำแหง ขณะอายุ 20 ปี และจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ม.รามคำแหง) เมื่อปี 2556 เป็น ดร. อายุ 23 ปี

อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (ทับทิม)
นักแสดงจากช่อง 7 สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรีตอนอยู่ชั้น ม.4 และเรียนต่อปริญญาตรีภาคปกติจนจบ ปัจจุบันทับทิมยังจบปริญญาโท ม.รามคำแหง อีกด้วย

ร.ต.อ.ทศพร รุ่งเรืองศุภรัตน์
สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรี เทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติและจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ในวัย 19 ปี, เนติบัณฑิตยสภา เมื่ออายุ 20 ปี ปัจจุบันรับราชการตำรวจ

ภาณุวุฒิ วงศ์จีน
อดีตนักศึกษาพรีดีกรี สาขาวิทยบริการฯ จ.เชียงราย สมัครเรียนพรีดีกรีตั้งแต่ชั้น ม.4 (โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม) สะสมหน่วยกิตได้ 136 หน่วยกิต และเทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติเรียนต่อเพียง 1 เทอม ก็จบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี
