วิธีจัดทำตารางเรียนด้วยตนเอง สำหรับสมัครนักศึกษาที่สมัครใหม่ (ส่วนกลาง)

สำหรับนักศึกษาที่สมัครใหม่(ส่วนกลาง) จะได้ลงทะเบียนเรียนตามที่มหาวิทยาลัยแนะนำให้ลงทะเบียนเรียน ดังนั้นอาจจะยังไม่ทราบว่าวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไป เรียนที่ไหน เรียนวัน/เวลาไหน ใครสอน และมหาวิทยาลัยจะไม่แจกตารางเรียนให้นักศึกษา แต่นักศึกษาจะต้องจัดทำตารางเรียนด้วยตนเอง โดยวิธีง่ายๆ ดังนี้

เตรียมข้อมูล

1. วิชาที่ลงทะเบียนเรียนเทอมนี้ มีวิชาอะไรบ้าง
**(ดูข้อมูลการลงทะเบียนเรียนได้จาก ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน, หรือที่เว็บไซต์สถานะการสมัครที่ระบบออนไลน์)
2. ให้ดาวน์โหลด "ตาราง ม.ร.30" ภาคปัจจุบัน คลิก

ขั้นตอนการทำตารางเรียน

1.  เขียนรหัสวิชาที่เราได้ลงทะเบียนเรียนเอาไว้ใส่กระดาษ หรือทำเป็นตารางเอาไว้ จะได้ดูง่ายขึ้น ดังตัวอย่างนี้
**(รหัสวิชา คือ ตัวอักษรภาษอังกฤษ3หลัก+ตัวเลข4หลัก เช่น ACC1102)

2. ให้เปิดไฟล์ "ตาราง ม.ร.30" ของภาคการศึกษานี้ จะมีหน้าตาเหมือนภาพด้านล่างนี้

อธิบาย ตารางเรียน ม.ร.30

ยกตัวอย่างกรอบด้านบนนี้
ช่องที่ 1 "ACC1102(3)"
หมายถึง รหัสวิชา+(จำนวนหน่วยกิต)
ช่องที่ 2 "(AC102)PRINCIPLES ACCOUNTING2"
หมายถึง (รหัสวิชาเก่า)+ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
ช่องที่ 3 "M 0930-1120"
หมายถึง วันเรียน+คาบเวลาเรียน คือ M=Monday(วันจันทร์) เวลาเรียนคือ 09.30-11.20 น.
วันเรียนอื่น ๆ คือ TU=Tuesday=วันอังคาร, W=Wednesday=วันพุธ, TH=Thursday=วันพฤหัสบดี, F=Friday=วันศุกร์
คาบเวลาเรียนอื่น ๆ คือ 07.30-09.20 หรือ 9.30-11.20 หรือ 11.30-13.20 หรือ 13.30-15.20 และ 15.30-17.20 น.
ช่องที่ 4 "KLB201"
หมายถึง สถานที่เรียน (ชื่ออาคารเรียน)+(ห้องเรียน) เช่น KLB=อาคารกงไกรลาศ, 201=ชั้น 2 ห้อง 201
ที่ตั้งของอาคารเรียนอื่นๆ และแผนที่มหาวิทยาลัย ราม1-ราม2 คลิก
ช่องที่ 5 "ASSOC.PROF.DR.KITTIY DR.NARINTIP"
หมายถึง ชื่ออาจารย์ผู้สอนในวิชานี้
ช่องที่ 6 "TU 24 NOV.2020 B" = วันสอบของวิชานี้ แบ่งเป็น
TU = Tuesday = สอบวันอังคาร
24 = สอบวันที่ 24
NOV = November = สอบเดือนพฤศจิกายน
2020 = ปีค.ศ. 2020
B = คาบสอบ B(บ่าย) คือ เวลา 14.00-16.30 น. นอกจากนี้ยังมีคาบสอบอื่นๆ คือ A(เช้า) = เวลา 09.30-12.00 น.

3. นำข้อมูลในตาราง มร.30 มาใส่ในตารางเรียนที่เราทำไว้ ตามวิชาที่เราได้ลงทะเบียนเรียนไป แค่นี้ก็เสร็จแล้ว ดังตัวอย่างนี้

ข้อสังเกต

       ข้อสังเกตที่ 1 วันสอบของวิชา ACC1102 และ ECT1001 ตามตารางข้างต้น พบว่ามีวันสอบวันเดียวกัน แต่คาบสอบคือ B และ A ตามลำดับ สรุปคือ กรณีนี้สามารถลงทะเบียนเรียนได้แม้ว่าจะสอบวันเดียวกัน แต่คาบสอบไม่ตรงกัน สมมติว่ามหาวิทยาลัยประประกาศห้องสอบออกมาแล้วว่าสอบ รามฯ1 และรามฯ 2 ตามลำกับ นักศึกษาอาจจะเหนื่อยกับการเดินทางไปมาระหว่างรามฯ1และรามฯ2 ในวันเดียวกัน แต่สามารถทำได้ครับ
ข้อสังเกตที่ 2 การเลือก Section (Sec.) "เซค" คือ ห้องเรียน/กลุ่มเรียน วิชาหนึ่งอาจจะแบ่งห้องเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม(Sec.) แต่ละกลุ่มเรียนคนละเวลากัน คนละสถานที่กัน อาจารย์ผู้สอนอาจจะเป็นคนละคนกัน แต่สรุปแล้วเรียนเนื้อหาเดียวกัน กลุ่มแรกอาจเรียนที่ รามฯ1 และอีกกลุ่มอาจจะเรียนที่ รามฯ2 นักศึกษาสามารถเลือกกลุ่มเรียนได้ตามความสะดวกได้เลย หากสะดวกจะเรียนกลุ่ม 1 ให้เข้าเรียนกลุ่ม 1 ไปตลอด อย่าสลับกลุ่มเรียนไปมาเพราะจะเรียนไม่เข้าใจ
ข้อสังเกตที่ 3 วิชาที่มีสอบคาบ A, B เช่นวิชา RAM1000 คือมีการจัดสอบทั้งคาบ A(เช้า) และคาบ B(บ่าย) แต่นักศึกษาจะไม่ได้สอบทั้ง 2 คาบ โดยมหาวิทยาลัยจะจัดห้องสอบให้นักศึกษาสอบเพียง 1 คาบเท่านั้น(A หรือ ฺ เท่านั้น) หมายความว่า นักศึกษาไม่ควรลงทะเบียนเรียนวิชาอื่นที่มีวันสอบตรงกับวันสอบของวิชานี้ เนื่องจากอาจจะมีคาบสอบตรงกันก็เป็นไปให้ ให้หลีกเลี่ยงวิชาที่มีวันสอบในวันนี้ไปเลย

⚠️ สำหรับวิธีนี้ ใช้ได้สำหรับเทอมที่สมัครเรียนครั้งแรกเท่านั้น ⚠️
โดยเทอมต่อๆไป จะใช้วิธีการจัดตารางเรียนแบบนี้ไม่ได้ เพราะนักศึกษาจะต้องจัดตารางเรียนก่อน
แล้วจึงทำการลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัย
แล้วเทอมต่อไปจะต้องทำยังไง? กดอ่านบทความแนะนำการลงทะเบียนเรียนด้วยตนเอง ที่นี่